ในห้องเรียน เราได้ฝึกเป็น 聞き手 การ あいづち 2 สัปดาห์ ครั้งแรกเป็นตอนที่ฟังเพื่อนเล่า 目に浮かぶ描写 และครั้งที่ 2 คือการฝึก あいづち โดยตรงเลย
เราได้จับคู่กับเจ้าส้มทั้ง 2 ครั้ง
ในครั้งแรก เรากลัวว่า あいづち ของเราจะไปรบกวนเพื่อน เลยคิดว่าพูดน้อย ๆ ไว้ดีกว่า ผลออกมาเป็นดังนี้
1. เราพูด あいづち ไป 7 ครั้ง ในเวลา 3 นาที 2 วินาที (เฉลี่ย 0.038 คำต่อนาที)
2. ในด้านความหลากหลายนั้น เราพูดแค่ うん ไป 4 ครั้ง ส่วนอีก 3 ครั้งคือการถามกลับคนเล่าเพื่อเช็คความเข้าใจของตัวเอง ได้แก่ 1) 新聞の中隠れている?2) それだけ? 3) なんでかな?
3. ระดับภาษาไม่มีการเปลี่ยนแปลง คงเป็นเพราะว่าเพื่อนก็พูดรูปธรรมดากับเราเหมือนกัน
จากนั้นเราก็ได้ฟังรายการวิทยุชื่อ 安住紳一郎の日曜天国 ทางช่อง TBS ซึ่งในรายการจะมีผู้ดำเนินรายการ 2 คน คนหนึ่งเป็นคนเล่าเรื่อง ส่วนอีกคนเป็นคนคอย あいづち ตามจังหวะให้การดำเนินรายการสนุกมากยิ่งขึ้น
เราก็สังเกตการใช้ あいづち และจังหวะการตอบโต้ของคนที่ 2 ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ดังที่ได้สรุปไปแล้วในนี้
หลังจากนั้นเราก็ได้ฟังเพื่อนเล่าเรื่องอีกครั้งในห้องเรียน
ส่วนครั้งที่ 2 เราพยายามพูด あいづち เยอะ ๆ และหลากหลายตามที่ได้ยินในรายการวิทยุ และพยายามหาจังหวะพูดให้ดีขึ้น อย่างตอนที่เพื่อนเกริ่นประโยคใหม่ขึ้นมา หรือตอนที่เพื่อนจบประโยค และผลจึงออกมาเป็นดังนี้
1. เราพูด あいづち 41 ครั้งในเวลา 2 นาที 45 วินาที (เฉลี่ย 0.248 คำต่อนาที)
2. ในด้านความหลากหลาย เราพูด うん ไปทั้งหมด 21 ครั้ง นอกนั้นเป็นคำที่แตกต่างกัน เช่น そうですか、あーなるほど、うんわかった、へー優しい เป็นต้น
3. มีการเปลี่ยนระดับภาษาในตอนเริ่มนั่นคือ พูดคำว่า そうですか ในครั้งแรกซึ่งเป็นระดับที่สุภาพ จากนั้นถึงเป็นภาษาระดับธรรมดาทั้งหมด
จะเห็นความแตกต่างระหว่างครั้งแรกกับครั้งที่ 2 อย่างชัดเจนเลย ได้แก่
สรุปความแตกต่างระหว่างครั้งแรกและครั้งที่ 2
สรุปความแตกต่างระหว่างครั้งแรกและครั้งที่ 2
1. เฉลี่ยแล้วจำนวนครั้ง ครั้งที่ 2 ใช้ あいづち เยอะกว่าครั้งที่ 1 552% หรือมากกว่า 6.5 เท่า
2. ความหลากหลาย ครั้งแรกเราพูดแค่ うん และถามข้อสงสัยที่ไม่แน่ใจ แต่ครั้งที่ 2 นอกจากคำว่า うん แล้ว เราก็มีการถามข้อสงสัยที่ไม่แน่ใจ และแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เพื่อนกำลังเล่าด้วย เช่น 優しい หรือ ね ตามคำพูดของเพื่อน
3. ครั้งแรกไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับภาษา แต่ครั้งที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลงระดับภาษาในตอนเริ่ม
ส่วนจังหวะในการพูดคิดว่าดีขึ้น เพราะครั้งแรกมีการพูด うん แทรกในกลางประโยคบ้าง แต่ครั้งที่ 2 พยายามพูดหลังเพื่อนจบประโยคหรือกำลังเกริ่นอะไรสักอย่างอยู่
内省
เห็นได้ชัดเลยว่าหลังจากเรียนเรื่อง あいづち เรามีการเปลี่ยนแปลงด้านการใช้ あいづち แม้ตอนประมาณปี 2-3 ก็มีเรียนเรื่อง あいづち มาแล้ว แต่บางครั้งก็ลืมเรื่องความหลากหลายไป ตอนแรกก็ตอบ うん ไปอย่างเดียว เพราะกลัวจะไปรบกวนเพื่อนกำลังเล่าเรื่อง แต่พอได้เรียน ได้ลองฟังวิทยุแล้วถึงรู้ว่า ถ้าเราใส่ あいづち ให้เยอะ ๆ และหลากหลายมากขึ้น ทำน้ำเสียงให้ตื่นเต้นกับเรื่องที่เพื่อนเล่าด้วย จะทำให้ทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งผู้พูดและผู้ฟังสนุกมากยิ่งขึ้น เราก็ได้โฟกัสกับเรื่องมากขึ้นด้วย เพราะต้องโฟกัสว่าจะคอมเม้นท์กลับว่าไรดี 5555 การเรียน あいづち ทำให้เราเห็นพัฒนาการตัวเองชัดเจนดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น