วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

タスク3:lang-8

ตั้งแต่สัปดาห์แรก คุณครูแนะนำเว็บไซต์ http://lang-8.com/ ให้ ซึ่งเป็นชุมชนออนไลน์แบบหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้ได้แลกเปลี่ยนความรู้ด้านภาษาซึ่งกันและกัน ผู้ที่เรียนภาษาต่างประเทศจะโพสข้อความให้ผู้ที่ใช้ภาษานั้น ๆ เป็นภาษาแม่ให้ช่วยแก้ไขให้ อย่างเราเรียนภาษาญี่ปุ่นและใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ เราก็จะโพสภาษาญี่ปุ่นให้คนญี่ปุ่นช่วยแก้ไขและก็จะไปช่วยแก้ไขภาษาไทยให้ชาวต่างชาติคนอื่น

เว็บไซต์นี้มีคอนเสปต์ น้ำใจยิ่งให้ยิ่งได้ เราไปช่วยแก้ภาษาไทยให้คนอื่นเขา เราก็จะได้แต้มมาสะสมไว้ ยิ่งแต้มเยอะ เวลาเราขอให้คนอื่นแก้ภาษาให้เรา โพสของเราก็จะขึ้นมาท็อป ๆ ฉะนั้นครูจึงบอกให้เราไปทำความดีหาแต้มมาสะสมไว้เยอะ ๆ ทำดีหวังผลให้เราขึ้นท็อปค่า

ความรู้สึกประทับใจอย่างหนึ่งตอนที่สมัครเว็บไซต์นี้ครั้งแรกคือ มีคนสนใจเรียนภาษาไทยเราด้วยอ๊ะ!!! ดีใจจัง เท่าที่เห็นส่วนใหญ่เป็นคนจีน แล้วก็เคยเห็นคนเวียดนาม ญี่ปุ่น และฝรั่งสักชาติอะ5555 สู้นะทุกคน

เราก็ไปแก้ไขให้เขาบ้าง เตรียมสะสมแต้มไว้ บางทีเขาก็เขียนกันถูกต้องไร้ที่ติเลยนะ มันถูกไวยากรณ์หมดแต่มันไม่เป็นธรรมชาติ เราจะรู้สึกว่าคนไทยไม่ใช้แบบนี้แต่ก็ไม่รู้จะแก้ยังไงเพราะรูปประโยคมันถูกหมดอะ แต่ถ้าคนไทยอ่านดูจะรู้เลยว่าแปลมาจากภาษาอื่น

อย่างเช่น ประโยคนี้ที่คนเวียดนามเขียนมา

เธอได้ตัดผมและสิ่งนี้ทำให้เธอสวยขึ้น

อ่านแล้วมันถูกหมดเลย แต่คนไทยไม่ใช้ประโยคแบบนี้

แล้วก็มีคนไทยไปแก้ให้เป็นแบบนี้

เธอตัดผม และนั่นทำให้เธอสวยขึ้น (ตัด "ได้" ออกและเปลี่ยน "สิ่งนี้" เป็น "นั่น")

เรายิ่งรู้สึกว่ามันไม่ใช่อะ ยังไงก็ยังเป็นประโยคที่ให้ความรู้สึกเหมือนอ่านบทแปล

เราเลยคิดว่าควรจะเป็นแบบนี้

เธอตัดผมทำให้เธอสวยขึ้น

น่าจะดูเป็นประโยคที่คนไทยใช้มากกว่า (ความจริงโพสนี้ไปเม้นท์ไม่ติดอะ ไม่รู้อินเตอร์เน็ตเป็นไร โพสแล้วไม่ติดเฉ้ย อุตส่าห์พิมพ์แก้ตั้งนานเพราะเขาเขียนมายาวอยู่ โพสไม่ติดเลยไม่ได้แก้ให้เขาเลย ขอโทษน้า555)

ทีนี้พอมาถึงตาเราโพสข้อความให้คนญี่ปุ่นแก้ภาษาญี่ปุ่นให้เราบ้าง เราเอาเรื่อง 自己分析・自己発見 ไปโพส แล้วก็มีคนมาแก้ไขให้ 2 คน ปรากฎว่า จุดที่ผิดไวยากรณ์แบบชัด ๆ หรือคำที่ไม่เหมาะสมอย่างเห็นได้ชัดเขาก็แก้ไขให้เรามาตรงกันทั้งคู่ แต่มีบางจุดที่คนนี้แก้ให้ แต่อีกคนไม่แก้ให้ ให้เราพิจารณาดูเองอีกทีว่าที่เราเขียนไปมันผิดหรือถูกกันแน่ จริง ๆ มันอาจจะถูกแต่มันไม่เป็นธรรมชาติเหมือนที่เราไปอ่านภาษาไทยจากคนชาติอื่นก็ได้

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการใช้ lang-8 ก็คือ การใช้ภาษานี่ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลจริง ๆ ถ้าไม่ใช่ว่าผิดไวยากรณ์ไปเลย ส่วนอื่น ๆ น่าจะขึ้นอยู่กับความคุ้นเคยหรือความรู้สึกของผู้ใช้ที่เคย ๆ ใช้ ๆ มามากกว่า ขนาดเราเป็นคนไทยที่ไปช่วยแก้ภาษาไทยให้คนต่างขาติยังแก้ไม่ตรงกับคนไทยคนอื่น ๆ เลย บางครั้งอ่านแล้วก็รู้สึกว่าคนอื่นแก้ดีกว่านะ บางครั้งอ่านแล้วรู้สึกว่าเราแก้ดีกว่าอะ

สรุปคือ lang-8 เป็นเว็บไซต์ที่ดีมากสำหรับการศึกษาภาษาต่างประเทศ เพราะเวลาโพสให้เจ้าของภาษาแก้ให้ แล้วมีคนมาแก้มากกว่า 1 คนขึ้นไปเราจะเห็นความหลากหลายของการใช้ประโยครูปแบบต่าง ๆ อันนี้เราก็ต้องใช้ประสบการณ์ของเราด้วยว่าประโยคแบบไหนที่สื่อความหมายใกล้เคียงกับที่เราต้องการสื่อมากที่สุด ในบางครั้งก็ได้รูปประโยคใหม่ ๆ ที่เราไม่รู้จักแต่มีความหมายคล้าย ๆ ของเดิมทำให้เราได้เรียนรู้รูปแบบประโยคมากขึ้นไปอีก

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2560

タスク2:自己分析・自己発見


สัปดาห์ที่ 2 ได้เรียนการเขียน 自己分析・自己発見

ในห้องเรียนได้อ่านตัวอย่างงานเขียน 6 ตัวอย่าง มีบางคนเขียนจากข้อเสียของตนเองและนำมาเป็นจุดแกร่ง เช่น คนที่บอกว่าตนเองไม่มีความสามารถ เลยต้องเตรียมพร้อมและพยายามให้มากกว่าคนอื่น, คนที่ไม่ชอบวางแผนแต่มีสมาธิจดจ่อเป็นเลิศจนประสบความสำเร็จ และยังมีคนที่เขียนจากประสบการณ์ที่เรียนรู้มา เป็นต้น

จากนั้นเราก็มาลองเขียนของเราเองบ้าง ลองสำรวจและพิจารณาตนเองว่ามีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง เคยลองทำสมัยเรียนวิชาการเขียนแล้ว ให้เพื่อน ๆ เขียนข้อดีของเราให้ เพื่อนเคยเขียนว่า เราเป็นคน 粘り強い แล้วก็ 優しい เป็นสาวน้อยผู้ใจดีอะ55555


แล้วเราก็พิจารณาข้อเสียเราเอง คิดว่าเป็นคนขาดความมั่นใจ 自信のない人  (แต่ชอบมีคนบอกว่าเราดูเป็นคนมั่นใจในตัวเองนะ จริง ๆ แล้วไม่ใช่) ไม่ค่อยกล้าทำอะไรใหม่ ๆ และไม่ค่อยกล้าแสดงความคิดของตนเองเท่าไหร่และเป็นคน introvert เล็กน้อย เกลียดงานปาร์ตี้และคนเยอะๆ เรากำลังพยายามแก้ไข 2 จุดนี้อยู่ พยายามทำให้ตนเองโตขึ้นกว่านี้เพราะไม่ชอบตนเองที่เป็นแบบนี้เหมือนกัน รู้สึกเรียนจบไปทำงานลำบากอะ


เราคิดว่าข้อเสียเราเอามาเขียนยาก เลยอยากเอาข้อดีมาเขียน จริง ๆ แล้วได้ 優しい เยอะสุดแต่ไม่มี エピソード ที่จะมาเขียนเป็นจุดแกร่งได้เลยเลือก 粘り強い มาใส่เรื่องประกอบละไปโพสลงเว็บ Lang 8 รอให้คนญี่ปุ่นช่วยมาตรวจแก้ให้


จากนั้นก็มีคุณ Composer กับคุณ Mika มาช่วยแก้ให้ คุณ Composer ช่วยแก้ไขไวยากรณ์จุดเล็ก ๆ ที่มองข้ามไป ส่วนคุณ Mika ช่วยแก้จุดที่ดูไม่เป็นธรรมชาติให้ แบบนี้


เราเลยเอาจุดที่ทั้ง 2 ท่านแก้ไขให้ มาเขียนใหม่ให้ถูกต้องได้แบบนี้

私は粘り強い性格です。自分の目標のためにどれ程時間かかろうとも、絶対叶えます。例えば、私の子供の頃の夢は海外に留学することです。だから、中学生の時に一度、また高校生の時にもう一度、海外留学の奨学金を申し込みました。二回とも筆記試験と面接に受かりましたが、経済的な理由でお父さんからだめだと言われて、行けなくなりました。諦めず、「大学に入ったら、無償の奨学金を取ろう」と目標を立てました。それから、大学に入って、勉強に専念して、無償の奨学金を受けて、海外に2回留学することができました。とてもうれしくて夢が叶ったと達成感を感じました。諦めないことの大切さを再確認できました。

(ส่วนที่ขีดเส้นใต้คือส่วนคือแก้ไข)

คุณ Mika ใส่คอมเม้นท์มาให้ด้วย ดีใจมากเลย



内省


1. เรายังมีปัญหากับคำช่วย เห็นได้ชัดว่า ส่วนใหญ่จุดที่ไวยากรณ์ผิดเยอะสุดคือ คำช่วย มีลืมใส่บ้าง ใช้เป็น บ้าง เช่น

1.1 中学生のときは一回また高校生のときもう一回海外留学の奨学金を申し込みました。ควรแก้ไขเป็น 中学生のときに一回また高校生のときにもう一回海外留学の奨学金を申し込みました。

1.2 二回とも筆記試験と面接受かった ควรแก้ไขเป็น 二回とも筆記試験と面接受かった


2. เราเพิ่งรู้จักสำนวน しようとも ที่คุณ Mika แก้ไขให้เป็นครั้งแรก จาก 自分の目標のために、どれ程時間がかかっても絶対叶えます。เป็น 自分の目標のために、どれ程時間がかかろうとも、絶対に叶えます。เลยลองหาเป็นภาษาอังกฤษดู มันคือสำนวน no matter what นั่นเอง เลยลองหาประโยคตัวอย่างอื่น ๆ ดู เช่น

2.1 何のアドバイスを彼にあげようとも、彼はそれを全く聞かなかった。ไม่ว่าจะแนะนำอะไรเขาไป เขาก็ไม่ฟังเลย

2.2 どうやってそれを行ったとしても、結果は同じだった。ไม่ว่าฉันจะทำอย่างไร ผลลัพธ์ก็ยังเป็นเหมือนเดิม

(อ้างอิงการใช้สำนวน しようとも : http://honmono-eigo.com/noun-rela/nomatter.html)


3. เรายังแยกคำว่า 目標 กับ 目的 ไม่ออก เลยเลือกใช้คำว่าเป้าหมายว่า 標的 แทน (เปิดดิกหาเอา) ละโดนแก้มาเป็น 目標 หมดเลย ในกรณีแบบนี้ใช้คำว่า 目標 นี่เอง

4. จากประโยค 自分の目標のために、どのくらいかかっても絶対叶えます คุณ Mika บอกว่า「どのくらい」ฟังดูเป็นประโยคคำถามมากกว่าประโยคบอกเล่า ถ้าเราใช้ประโยคบอกเล่าควรใช้คำว่า 「どれ程時間」ดีกว่า แต่คุณ Composer ไม่ได้แก้จุดนี้มาให้เลยคิดว่า ความรู้สึกอาจจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลด้วย แต่เราก็เลือกที่จะแก้ตาม คุณ Mika เพราะว่าไม่เคยคิดจะใช้สำนวน どれ程 มาก่อนเลยอยากลองใช้ดู เลยแก้ไขเป็น どれ程時間がかかろうとも、絶対に叶えます。

สรุป เรายังคงผิดไวยากรณ์หลายจุด โดยเฉพาะคำช่วย に และยังใช้ศัพท์ได้ไม่เป็นธรรมชาติ ต่างกับเจ้าของภาษา เช่น 標的⇨目標กับ どのくらいどれ程 เป็นต้น อีกทั้งยังมีสำนวนที่ไม่รู้จัก คือ しようとも และควรศึกษาต่อไป

タスク1(2):魅力的な自己紹介

ในสัปดาห์ก่อนที่ได้เรียนการแนะนำตัวและกลับมาฟังเสียงอัดเพื่อพิจารณาตนเองว่าดีหรือแย่อย่างไร เราก็ได้เขียน 自己紹介 ที่คิดว่ามัน 魅力的 มากกว่าที่ได้พูดในห้องเรียน


เราเน้นไปที่การแสดงตัวตนให้มากขึ้น บอกเรื่องราวเกี่ยวกับตนเองให้มากขึ้น อย่างเช่น 専門領域 เราก็ใส่เหตุผลเข้าไปว่าทำไมถึงสนใจเรื่องนั้น ๆ และ ストレス解消 ก็บอกมากขึ้นว่าเราชอบทำอะไรและทำมันอย่างไร และเขียนได้ออกมาดังนี้


皆さん、こんにちは。初めまして。サンスィニーと申します。ニックネームはネットです。よかったらネットと呼んでください。チュラーロンコーン大学文学部日本語専攻です。
専門領域はタイと日本の喫煙の違いについてです。タイのタバコの政策とメデイアにある喫煙の規制は日本より厳しいのに、喫煙率は日本と同じぐらいということはどうしてだろうと思って研究しました。
次に、私のストレス解消に行うことはドラマ鑑賞と映画鑑賞です。ドラマは日本ドラマが好きで映画はアメリカ映画が好きです。また、アイドルを追いかけることも楽しんでいます。しかし、長い間に夢中になったアイドルグループはもう解散してしまったので結構冷めました。もしよかったら皆さんのお好きなアイドルを紹介しください。どうぞ宜しくお願いします。


และในสัปดาห์ต่อมาก็มีการเรียนเกี่ยวกับ 魅力的な自己紹介 อีกครั้งทำให้เราได้มุมมองใหม่ ๆ มากขึ้น ดังต่อไปนี้


1. ชื่อต่างชาติอย่างเราโดยเฉพาะคนไทยจะออกเสียงยากและจดจำยากสำหรับคนญี่ปุ่น (ในทางกลับกัน เราก็ว่าชื่อคนญี่ปุ่นฟังยาก เวลาเขาแนะนำตัวด้วยความเร็วปกติ เราจะฟังไม่ทันเลย) ดังนั้น เวลาแนะนำชื่อตนเอง ควรพูดแบบ ช้า ๆ ชัด ๆ ย้ำหลาย ๆ ครั้ง และใส่เทคนิคอื่น ๆ ช่วยให้คนอื่นจดจำชื่อเราได้ดีขึ้น เช่น คนที่ชื่อยิ้ม แนะนำตัวว่า イムと申します。インはスマイルという意味です。มีการพูดย้ำชื่อถึง 2 ครั้ง


อย่างเราชื่อเล่นว่า แน็ต แต่คนญี่ปุ่นออกเสียงสระแอไม่ได้ เราเลยใช้คำว่า ネット แทนคำว่าแน็ต ปกติเวลาแนะนำตัวกับคนญี่ปุ่นแล้วเขาทำหน้างงเราก็จะบอกว่า インターネットのネットです。แล้วเขาก็จำกันได้ทุกคนเลย ทุกวันนี้เลยใช้ インターネットのネット มาโดยตลอด5555


ส่วนชื่อจริงเราถอดเสียงได้ว่า サンスィニー เคยคุยเรื่อง 印鑑 กับคนญี่ปุ่น เราเคยคิดว่าเวลาทำ 印鑑 จะใช้ตัวอักษรคันจิได้ 2 ตัวเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วใช้เป็นคาตาคานะก็ได้ ใช้อักษรคันจิหลายตัวก็ได้ แล้วเขาก็บอกให้เราไปทำชื่อเราเป็น 三四二 สิ ตอนนั้นเลยระลึกได้ว่า ชื่อจริงเรามันคือเลข 342 ในภาษาญี่ปุ่นนี่หว่า (พอถูกเรียกว่า サンスィニーさん ก็ยังได้ 3423 ไปอีก) จากนั้นมาก็แนะนำตัวเองว่า 342 ซังนาก๊า55555 (ได้โปรดเรียงลำดับตัวเลขให้ถูก)


ถ้าให้ตัวเองแนะนำตัวก็จะได้เป็น サンスィニーと申します。342でサンスィニーです。サンスィニーはデリケートな美人という意味です。ニックネームはネットです。インターネットのネットなんです。どうぞよろしくお願いします。เป็นต้น


2. ควรพูดถึงสิ่งที่เป็นตัวตนจริง ๆ ของเราสักอย่างหนึ่ง อยากให้คนอื่นมองเราแบบไหนก็พูดถึงสิ่งนั้นบ่อย ๆ แล้วยิ่งถ้ามันเป็นตัวตนของเราจริง ๆ เราก็ต้องพูดมันออกมาบ่อย ๆ โดยธรรมชาติอยู่แล้ว เขาคนก็จะจำภาพลักษณ์เราได้จากเรื่องนั้น ๆ


อย่างเราที่เคยทำวิจัยเกี่ยวบุหรี่ เพราะมีเหตุผลเบื้องหลังก็คือ ชอบดูละครญี่ปุ่น แล้วสังเกตเห็นว่า ในละครญี่ปุ่นไม่จำเป็นต้องเซ็นเซอร์บุหรี่เหมือนอย่างละครไทยเลยเกิดความสงสัยจึงเลือกที่จะทำวิจัยเรื่องนี้ และเราก็มี 趣味 คือการนอนดูทีวีญี่ปุ่น ถ้าเราแนะนำตัวไปตามนี้ก็จะได้มีภาพลักษณ์เป็นเด็กสาววัน ๆ เอาแต่นอนดูทีวีไปเลย แต่นั่นก็คือตัวตนเราจริง ๆ นั่นแหละ555555


สรุปก็คือ นอกจากสติที่เราคาดหวังให้ตัวเองมีตลอดเวลาที่ต้องพูดต่อหน้าคนอื่นแล้ว เรายังต้องมีเทคนิคในการทำให้เขาจำชื่อเราได้ และถ้าอยากให้เขาจดจำเราในภาพลักษณ์แบบไหนก็เน้นพูดถึงสิ่งนั้น ๆ บ่อย ๆ นั่นเอง


นอกจากนี้ เราเคยอ่านเจอจากไหนจำไม่ได้แล้วว่า เวลาที่เพิ่งทำความรู้จักกับใคร แล้วอยากจำชื่อเขาให้ได้แม่น ๆ ก็ให้ใส่ชื่อเขาในบทสนทนาอย่างน้อย 3 ครั้ง คือต้องเรียกชื่อเขาประมาณ 3 ครั้ง ต่อไปเวลาเจอคน ๆ นั้นจะได้นึกชื่อเขาออกทันทีเลย ไม่เสียมารยาทด้วย


คิดว่าเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์เพราะต่อจากนี้ถ้าเรียนจบแล้วก็ต้องไปทำงานและต้องทำความรู้จักกับคนอีกมากมาย

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2560

タスク1:自己紹介

กิจกรรมแรกที่ได้ทำในห้องเรียนวันที่ 10 มกราคม 2559 คือ พูดแนะนำตัวเอง
มี 4 อย่างที่ต้องพูดถึง あいさつ、名前、専門領域、ストレス解消に行うこと
専門領域 ก็เลือกพูด 研究 ที่เคยไปทำสมัยไปแลกเปลี่ยนที่ฮิโรชิม่า ส่วน ストレス解消に行うこと ก็คิดว่าจะพูดถึง 趣味 ที่ทำตามปกติ

และนี่คือสิ่งที่เราพูดในห้องเรียน (จากเสียงที่อัดไว้)
初めまして。あのう。サンスィニーと申します。ニックネームはネットです。あのう、研究していることはあのう、タイ人のタバコとお酒の消費することです。そしてあのう、ストレス消費 เอ๊ย อะไรนะ ストレス解消に行うことはあのう、映画鑑賞とあのうアイドルを追いかけることです。はい、どうぞよろしくお願いします。

内省

ตอนที่พูดจบก็รู้สึกได้แล้วว่า เรายังพูดได้ไม่ดีเลย เป็นคนที่พูดต่อหน้าคนอื่น ไม่ว่าคนจะเยอะหรือน้อยแค่ไหนจะรู้สึกประหม่ามาก ๆ อาการนี้แก้ไม่หายเลย แม้ว่าในหัวจะจำลำดับความคิด จำศัพท์ที่ต้องพูดยาก ๆ ไว้ดียังไง พอเวลาพูดจริง ๆ แล้วทุกคนกำลังจ้องมาทางเรา เราจะพูดผิดพูดถูก จำอะไรไม่ได้ หัวมัน blank ไปหมด

พอได้ฟังเสียงที่อัดไว้ก็เป็นอย่างที่คิดไว้ พูดตะกุกตะกักมากไปหน่อย คิดว่าถ้าตัวเองตัดความประหม่าเวลาพูดต่อหน้าคนอื่นได้น่าจะพูดได้ดีกว่านี้ อย่างน้อยก็ลดความอ้ำ ๆ อึ้ง ๆ ตะกุกตะกักลง

ส่วนประโยคที่พูดออกมาคิดว่ามีคำว่า あのう เยอะไป เพราะคิดไม่ออก เมื่อ 2 ปีก่อนเวลาพูดชอบติดคำว่า なんか พยายามแก้ไขตรงจุดนี้ พยายามไม่พูดคำว่า なんか เลยติดคำว่า あのう มาแทน โถ่ชีวิต เรียกได้ว่ามีการพัฒนามั้ย 55555 คิดว่าถ้าจะทำให้ดีกว่านี้ควรจะต้องตั้งสติทั้งก่อนพูดและตอนพูดนี่ล่ะ คิดไรไม่ออกก็เงียบ ๆ ไปก่อนไม่ต้องปล่อยคำว่า あのう ออกมา

ส่วนเนื้อหาก็ไม่ได้ชวนให้คนอื่นจดจำตัวเองเท่าไหร่ ทุกคนฟังแล้วก็คงปล่อยผ่าน อ๋อ เป็นคนแบบนี้หรอ เค ๆ พอถึงตาคนต่อไปก็ลืมเรื่องเราละ.. แต่ในห้องเรียนเพื่อนจำได้เพราะเขารู้จักเราอยู่ละไง

พอได้ลองอ่าน script บทแนะนำตัวของคนญี่ปุ่นคนอื่นละลองมาเปรียบกับของตัวเองก็คิดว่า ストレス解消 ของเขาดูคลายเครียดกันจริงจังอะ เราแค่นอนดูละครดูหนังตามไอดอลก็ลืมความเครียดไปละ เขาต้องแหกปากร้องเพลงงี้ ดูต้องระบาย5555 แล้วมีบางคนก็พูดให้จดจำเขาได้เลย เช่น เชียร์เบสบอลแต่ทีมที่เชียร์ดันอยู่ที่โหล่เลยเครียดกว่าเดิม โหว นี่เราก็อยากพูดนะว่าตามไอดอลแต่ไอดอลที่เราตามวงแตกไปแล้ว เครียดกว่าเดิมเหมือนกัน5555

ต่อไปถ้าได้แนะนำตนเอง สิ่งที่ต้องระวังมากที่สุดเลยคือ สติ อยากให้ตัวเองมีสติทุกครั้งที่ต้องพูดต่อหน้าคนอื่น ๆ ทุกวันนี้สติกระเจิดกระเจิงตลอด แล้วถ้าอยากพูดให้คนจำเราได้ต้องใส่ความเป็นตัวเองไปมากกว่านี้หน่อย บอกว่าชอบสีม่วงก็ได้ไรงี้ (อาจจะไม่เกี่ยวกับเนื้อหาเท่าไหร่มั้ง) พูดเรื่องไอดอลก็ได้ แต่ในความคิดเราคือ ตามไอดอลมีภาพลักษณ์ไม่ค่อยดีเลยไม่ค่อยอยากพูดเยอะ แต่จริง ๆ ก็คิดได้นะว่าทำไมต้องแคร์ด้วยอะ ตามไอดอลก็ตามไอดอลสิ ใครจะทำไม5555