วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

もう最後です!

มาจนถึงตอนนี้ เราจะขอสรุปสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากวิชานี้นะ


คุณครูบอกจุดมุ่งหมายของการทำ タスク เมื่อตอนเรียนคาบสุดท้าย ไว้ว่า「客観的に自分の学びを内省し、解決策を見つけていく」


เราคิดว่าบล็อคก็คือส่วนหนึ่งในกระบวนการนั้นนั่นเอง ถ้าถามว่าเราบรรลุเป้าหมายมั้ยนั่น.. ก็ตอบคำถามตัวเองไม่ได้เหมือนกัน5555


1. ได้เขียนบล็อคและค้นพบว่าเป็นการทบทวนตัวเองอย่างแท้จริง เพราะปกติเป็นคนที่ทำอะไรแล้วจะไม่ได้ทบทวนเลย ทำเสร็จคือเสร็จ ไม่เคยเช็คว่าตัวเองผิดตรงไหนอะไรยังไง อาจจะเป็นเพราะอย่างงี้ทำให้ภาษาเราพัฒนาค่อนข้างช้า เราเน้นพูดๆๆ อย่างเดียว พูดผิดพูดถูกไม่ค่อยสนใจ เพราะตอนพูดถ้าผิดเดี๋ยวก็มีคนแก้ให้ แล้วก็ไม่ค่อยได้จำที่เขาแก้ให้ด้วยนะ เดี๋ยวก็ผิดซ้ำอีก 5555 พอได้มาเรียนวิชานี้ถึงได้รู้ว่า การทบทวนตัวเอง ย้อนมองตัวเองเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ เราจะได้รู้จุดอ่อนของตัวเอง และแก้ไขตัวเองได้ถูกจุดจริง ๆ


2. ได้ทำ タスク ที่ต้องฝึกทักษะหลายด้าน ทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน เป็นวิชาที่การบ้านเยอะจริง ๆ (ฮือออออ) จริง ๆ เป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ เลย ได้ output สิ่งที่เราเคยเรียนรู้มากทั้งหมดที่เคยมี และได้เช็คด้วยว่าสิ่งที่เราเคยเข้าใจมันถูกหรือไม่ ในบางครั้งที่เราไม่รู้จะใช้คำว่าอะไรดีก็ช่วยให้เราตระหนักได้ว่าเรายังไม่รู้ตรงจุดไหนบ้าง ถ้าเป็นคนขยัน ๆ ทำการบ้านจะรู้สึกว่าเรียนวิชานี้อย่างสนุกนานมาก ๆ แน่ ๆ แต่อารมณ์ขยันของเรามักอยู่แค่ช่วงก่อนมิดเทอม55555


3. ได้เรียนทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับ SLA หรือ กระบวนการเรียนรู้ภาษาที่ 2 เรารู้สึกเรียนเรื่องนี้แล้วเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเนื้อหาที่เรียนมาก ๆ เพราะมันสามารถเทียบได้กับประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เคยเจอมาเลย


อย่างเรื่อง input เรารู้เลยว่าเมื่อ 1 ปีก่อนภาษาญี่ปุ่นเราดีกว่าตอนนี้มาก ๆ เพราะตอนนั้นชอบไอดอลญี่ปุ่น เลยเสพสื่อภาษาญี่ปุ่นทุกวันเลย วันละ 2-3 ชั่วโมงขึ้นไป ชอบดูรายการทีวี ดูละครอะไรแบบนี้ ในขณะที่ตอนนี้แทบไม่ได้ดูอะไรเกี่ยวกับญี่ปุ่น เลยรู้สึกว่าตอนนั้นตัวเองใช้ภาษาญี่ปุ่นที่เป็นธรรมชาติกว่าตอนนี้แถมยังมีคลังศัพท์ในหัวเยอะเพราะชอบเลียนแบบคนเขาพูดกันทีวี ตอนนี้เลยอยากย้อนกลับไปดูรายการทีวีญี่ปุ่นรัว ๆ อีก จะได้ input เยอะ ๆ ไอดอลหนูอยู่ไหนกลับมาหน่อย5555


แล้วตอนนั้นเรา input ผ่านรายการทีวีแล้วยังได้ output ตอนไปทำพาร์ทไทม์ด้วย ตอนนั้นเลยได้ฝึกทักษะเข้มข้นและสนุกสนานมาก เพิ่งรู้ว่าได้ฝึกเยอะแบบนี้เป็นเรื่องดีมาก ๆ จากที่ได้ดูแผนผังกระบวนการเรียนรู้ในวิชานี้ ตอนนี้ได้แต่เรียนรู้ในห้องเรียนอย่างเดียวรู้สึกภาษาญี่ปุ่นตัวเองถดถอยมาก ๆ และคิดว่าเราควรจะคอยทบทวนที่เรียนไปซ้ำ ๆ อีกทีจะได้ไม่ลืม


หรือการเรียนรู้แบบ implicit กับ explicit เลยรู้ว่าจริง ๆ ตัวเองชอบการเรียนรู้แบบ implicit มากกว่ามาก ๆ เพราะไม่ชอบอะไรที่ต้องมานั่งท่องในห้องเรียน เลยชอบตอนที่ตัวเองไปอยู่ญี่ปุ่นแล้วได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นมากกว่า รู้สึกตอนนั้นพอได้ใช้จริงแล้วจำได้ดีกว่าการท่องเพราะสำหรับเราพอท่องเดี๋ยวสักพักก็ลืม


เราชอบเรียนแบบ output theory หรือ interaction theory มากเพราะมันทำให้เราตระหนักเองตอนนั้นเลยว่าเรายังไม่รู้ตรงไหน ต้องปรับปรุงตรงไหน แต่ก่อนอื่นต้องระลึกไว้ก่อนว่า เราต้องมี input ที่ดีและเยอะ ๆ ด้วย อันนี้เพิ่งเห็นความสำคัญ


สรุปคือ เห็นความสำคัญของ input และการมอนิเตอร์ตัวเองมากขึ้นมาก ๆ การ output ออกมาอย่างเดียวโดยไม่คอยตรวจสอบตัวเองว่าทำถูกผิดอย่างไรจะทำให้ภาษาเราไม่ได้พัฒนาเลย

หลังจากนี้ก็จะเรียนจบแล้ว (ดีใจมากกก) 5 ปีในมหาวิทยาลัยยาวนานเหลือเกิน ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นเราจะไม่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนอีกแล้ว ต้องเก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปเรื่อย ๆ แทน เราดีใจที่ได้ลงเรียนวิชานี้เพราะเราได้รู้อะไรหลาย ๆ อย่างที่จะทำให้ภาษาเราพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ ภาษาญี่ปุ่นเราอาจจะไม่ได้สมบูรณ์แบบเหมือนเจ้าของภาษา แต่ต่อไปเราอยากให้ตัวเองใช้ภาษาญี่ปุ่นในแบบที่สามารถสื่อสารสิ่งที่เราต้องการจะพูดออกมาได้ทั้งหมด 頑張っていきます!!!!

タスク9:聞き手

ในห้องเรียน เราได้ฝึกเป็น 聞き手 การ あいづち 2 สัปดาห์ ครั้งแรกเป็นตอนที่ฟังเพื่อนเล่า 目に浮かぶ描写 และครั้งที่ 2 คือการฝึก あいづち โดยตรงเลย


เราได้จับคู่กับเจ้าส้มทั้ง 2 ครั้ง


ในครั้งแรก เรากลัวว่า あいづち ของเราจะไปรบกวนเพื่อน เลยคิดว่าพูดน้อย ๆ ไว้ดีกว่า ผลออกมาเป็นดังนี้


1. เราพูด あいづち ไป 7 ครั้ง ในเวลา 3 นาที 2 วินาที (เฉลี่ย 0.038 คำต่อนาที)

2. ในด้านความหลากหลายนั้น เราพูดแค่ うん ไป 4 ครั้ง ส่วนอีก 3 ครั้งคือการถามกลับคนเล่าเพื่อเช็คความเข้าใจของตัวเอง ได้แก่ 1) 新聞の中隠れている?2) それだけ? 3) なんでかな?

3. ระดับภาษาไม่มีการเปลี่ยนแปลง คงเป็นเพราะว่าเพื่อนก็พูดรูปธรรมดากับเราเหมือนกัน


จากนั้นเราก็ได้ฟังรายการวิทยุชื่อ 安住紳一郎の日曜天国 ทางช่อง TBS ซึ่งในรายการจะมีผู้ดำเนินรายการ 2 คน คนหนึ่งเป็นคนเล่าเรื่อง ส่วนอีกคนเป็นคนคอย あいづち ตามจังหวะให้การดำเนินรายการสนุกมากยิ่งขึ้น


เราก็สังเกตการใช้ あいづち และจังหวะการตอบโต้ของคนที่ 2 ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ดังที่ได้สรุปไปแล้วในนี้


หลังจากนั้นเราก็ได้ฟังเพื่อนเล่าเรื่องอีกครั้งในห้องเรียน


ส่วนครั้งที่ 2 เราพยายามพูด あいづち เยอะ ๆ และหลากหลายตามที่ได้ยินในรายการวิทยุ และพยายามหาจังหวะพูดให้ดีขึ้น อย่างตอนที่เพื่อนเกริ่นประโยคใหม่ขึ้นมา หรือตอนที่เพื่อนจบประโยค และผลจึงออกมาเป็นดังนี้


1. เราพูด あいづち 41 ครั้งในเวลา 2 นาที 45 วินาที (เฉลี่ย 0.248 คำต่อนาที)


2. ในด้านความหลากหลาย เราพูด うん ไปทั้งหมด 21 ครั้ง นอกนั้นเป็นคำที่แตกต่างกัน เช่น  そうですか、あーなるほど、うんわかった、へー優しい เป็นต้น


3. มีการเปลี่ยนระดับภาษาในตอนเริ่มนั่นคือ พูดคำว่า そうですか ในครั้งแรกซึ่งเป็นระดับที่สุภาพ จากนั้นถึงเป็นภาษาระดับธรรมดาทั้งหมด


จะเห็นความแตกต่างระหว่างครั้งแรกกับครั้งที่ 2 อย่างชัดเจนเลย ได้แก่

สรุปความแตกต่างระหว่างครั้งแรกและครั้งที่ 2


1. เฉลี่ยแล้วจำนวนครั้ง ครั้งที่ 2 ใช้ あいづち เยอะกว่าครั้งที่ 1 552% หรือมากกว่า 6.5 เท่า


2. ความหลากหลาย ครั้งแรกเราพูดแค่ うん และถามข้อสงสัยที่ไม่แน่ใจ แต่ครั้งที่ 2 นอกจากคำว่า うん แล้ว เราก็มีการถามข้อสงสัยที่ไม่แน่ใจ และแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เพื่อนกำลังเล่าด้วย เช่น 優しい หรือ ね ตามคำพูดของเพื่อน


3. ครั้งแรกไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับภาษา แต่ครั้งที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลงระดับภาษาในตอนเริ่ม


ส่วนจังหวะในการพูดคิดว่าดีขึ้น เพราะครั้งแรกมีการพูด うん แทรกในกลางประโยคบ้าง แต่ครั้งที่ 2 พยายามพูดหลังเพื่อนจบประโยคหรือกำลังเกริ่นอะไรสักอย่างอยู่


内省

เห็นได้ชัดเลยว่าหลังจากเรียนเรื่อง あいづち เรามีการเปลี่ยนแปลงด้านการใช้ あいづち แม้ตอนประมาณปี 2-3 ก็มีเรียนเรื่อง あいづち มาแล้ว แต่บางครั้งก็ลืมเรื่องความหลากหลายไป ตอนแรกก็ตอบ うん ไปอย่างเดียว เพราะกลัวจะไปรบกวนเพื่อนกำลังเล่าเรื่อง แต่พอได้เรียน ได้ลองฟังวิทยุแล้วถึงรู้ว่า ถ้าเราใส่ あいづち ให้เยอะ ๆ และหลากหลายมากขึ้น ทำน้ำเสียงให้ตื่นเต้นกับเรื่องที่เพื่อนเล่าด้วย จะทำให้ทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งผู้พูดและผู้ฟังสนุกมากยิ่งขึ้น เราก็ได้โฟกัสกับเรื่องมากขึ้นด้วย เพราะต้องโฟกัสว่าจะคอมเม้นท์กลับว่าไรดี 5555 การเรียน あいづち ทำให้เราเห็นพัฒนาการตัวเองชัดเจนดี

วันเสาร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2560

タスク8:描写文

หลังจากที่ได้ลองเล่าเรื่องตามภาพไปแล้ว 2 เรื่อง การพรรณนาด้วยปากคนเล่าก็ต้องคิดสด ด้นสด เล่าเรื่องให้คนฟังเข้าใจให้ได้ตอนนั้นเลย 

แต่คราวนี้เราได้มาลองทำ 描写文 การเขียนพรรณนาดูบ้าง การเขียนพรรณนาดีกว่าการเล่าปากตรงที่เราได้คิดได้แก้คำก่อนหลาย ๆ รอบก่อนที่จะถ่ายทอดเรื่องราวในหัวเราออกมาได้


ทีนี้เราได้เขียนเรื่องอะไรก็ได้ จะเป็นเรื่องแฟนตาซีเพ้อฝันแค่ไหนก็ได้ (แต่ครูบอกไม่เอาแบบว่า ตอนจบตื่นแล้ว อ่าวนี่เราฝันไปนี่นา ครูบอกมุกเก่าละเบื่อ5555)


เราเป็นคนที่เล่าเรื่องจากความว่างเปล่าในหัวไม่ได้ ต้องมีแรงบันดาลใจหรืออะไรที่มาจากประสบการณ์ตนเอง คิดไว้หลาย ๆ เรื่องมาก คิดไม่ออกว่าเรื่องไหนจะเล่าได้น่าสนใจ ถ้าเป็นคนเล่าเก่ง ๆ ใช้คำเก่ง ๆ ก็น่าจะเล่าเรื่องธรรมดา ๆ ให้สนุกได้เลย แต่เราไม่เก่งอะไรแบบนั้นเลยอยากได้วัตถุดิบการเล่าที่มันสนุกด้วย


สรุปคิดวนไปวนมาก็คิดว่าเอาเรื่องที่เคยเจอมาริโอ้ เมาเร่อตอนปี 1 ดีกว่า ตอนนั้นรู้สึกความรู้สึกทุกอย่างมันพลุ่งพล่านดี มันอัดแน่นอยู่ในอก ต้องยกออกมา55555


แล้วก็เอามาเขียน draft แรก พอเริ่มเขียนไปเขียนมาก็ชอบงานนี้นะ เหมือนครูเปิดช่องให้เราได้เพ้อเจ้อ (แถมมีคนอ่านด้วย5555) เราก็เขียน ๆ ไปตามลำดับเรื่องราว คิดว่าค่อนข้างละเอียดและต้องเขียนแค่ 1 หน้ากระดาษ หลัง ๆ เลยต้องตัด ๆ ให้จบ ทั้ง ๆ ที่เป็นจุดไคลแม็กซ์สำหรับเรา


1st draft

人生で最高の幸せな瞬間
「マリオくんカッコイイ!大好き!」4年前にマリオ・マウラーが演じる映画を見て彼のことが好きになりファンになってしまいました。あの時、マリオくんのことに夢中になりすぎて「いつか会えたらいいな」とー度でもいいからこの人生でマリオくんに生で会いたいという気持ちがとても強かったです。マリオくんのことを追いかけるにはマリオ・マウラーに関するSNSを全部フォローしました。そうやって毎日いつどこでのようなマリオくんのスケジュールを確認でき、「大学の近くのデパートに来たら絶対に迎えに行く」ファンの情熱があふれてきました。
 「私の夢を叶えることができるかも」数日後にマリオくんが当日19時にセントラルワールドで舞台挨拶のような映画公開イベントに参加するという情報が目に入りました。今日こそ会えるのだと嬉しく思いつつ、翌日タイ・英翻訳授業の小テストがあることを思い出した。私はどんだけ他のことをやりたいと思っても勉強することを一番優先するタイプなので、早く家に帰ってテスト勉強せずに19時までマリオくんに会うことを待つなんて許せませんでした。当日の16時に、授業が終わった時、今日もダメかと少し落ち込んで帰ろうと思い、ちょうどセントラルワールドの近くに家がある友達を見ました。その瞬間に「今日一緒に帰っていい?セントラルワールド行きたいから」と何にも考えずに友達に言いました。「うん、いいよ」と友達は言いました。そうすると、友達と一緒に大学からセントラルワールドまで歩いて行きました。映画公開イベントは19時に始まる予定だが、19時までマリオくんを待つことではなく、ちょっとセントラルワールドの映画館に行って映画公開イベントの様子と雰囲気を見に行ってすぐ帰ってテスト勉強をすると決めました。タイの昔の人の考え方のように「君の顔を見えないが、君の家の屋根を見るだけましだ」のとおりです。「大丈夫だよ。マリオくんはタイ人だし、今日でもないけど、いつか会えるチャンスがあるよ」と友達も慰めてくれました。
 16時半ぐらいにセントラルワールドの映画館に到着しました。友達も一緒に来てくれました。セントラルワールドの映画館は二回があり、一般の人が入れるのは一回だけで二回は映画に関係がある人のみでした。イベントは二回に開催されそうで、二回に上る方法を探すために、他の友達を電話して聞いてみました。その時、会話が終わってその電話を切ろうとすると、私から5メートルくらいの左側にある男性が見えました。「あの人マリオくんじゃないの?」とこの人生で最もびっくりした瞬間、あの男性は柱の裏に歩いて行って一瞬隠れていました。まだマリオくんかどうかわからない時、またあの男性が現れました。顔を見たら「本当にマリオくんだ!」と確認でき、「まだ4時半なのにマリオもう来たんだ!」心が止まるほど嬉しかったです。全身ジーンズを着て背が高くて顔がちっちゃくてイケメンすぎて映画と写真より生で見る方がずっとかっこよかったです。マリオくんが映画館の二回に行くエスカレーターに乗って行ってしまいました。エスカレーターに乗っている間、ちょっと私の方に振り返って私の目と合ってくれました。もう死ぬじゃないかと思うくらいものすごく照れくさい私は笑わずに無表情で二回に行っているマリオくんをずっと見ました。そうすると、マリオくんは二回に行ってもう消えてしました。マリオくんと写真を撮りたいのに、チャンスを逃してとても残念だった。

 今はもうマリオくんのことが好きではないが、マリオくんに会ったことを思い出したらその時人生の最高の幸せだなと、あの日セントラルワールドに行って本当によかったといつも思います。簡単ですが、いっぱい幸せが感じられます。

ตอนนั้นอ่านงานของตัวเองแล้ว รู้สึกว่าควรเขียนตอนที่เจอมาริโอ้มากกว่านี้ แต่คิดว่าที่ไม่พอแล้วเลยเล่าแบบสั้น ๆ และได้ฟีดแบ็คจากเพื่อนมาดังนี้




มีทั้งส่วนที่ดีและไม่ดี แต่เพื่อนบอกว่าที่เราใส่คำพูดลงไปนั้นดี แสดงว่าอันนี้มาถูกทางแล้ว และการใช้สำนวนไทย "ไม่เห็นหน้าเห็นหลังคาก็ยังดี" ตอนนั้นคิดงั้นจริง ๆ เลยเขียนลงไป แต่ยังมีส่วนที่ยังต้องปรับปรุงคือ ไม่ควรตัดจบเร็วไป นั่นล่ะปัญหาที่เราก็คิดเหมือนกัน55555

ตอนแก้เลยแก้แค่ส่วนที่คิดว่าเป็นปัญหา คือจุดไคลแม็กซ์ของเรื่องในย่อหน้าที่ 3 ได้ออกมาดังนี้ (ตัดมาเฉพาะย่อหน้าที่ 3) 

ฉบับสมบูรณ์ (ส่วนที่ขีดเส้นใต้คือส่วนที่เพิ่มเติมจากครั้งแรก)

 16時半ぐらいにセントラルワールドの映画館に到着しました。友達も一緒に来てくれました。セントラルワールドの映画館は二回があり、一般の人が入れるのは一回だけで二回は映画に関係がある人のみでした。イベントは二回に開催されそうで、二回に上る方法を探すために、他の友達を電話して聞いてみました。その時、会話が終わってその電話を切ろうとすると、私から5メートルくらいの左側にある男性が見えました。頭が真っ白になり、体もフリーズし、「あの人マリオくんじゃないの?」とこの人生で最もびっくりした瞬間、あの男性は柱の裏に歩いて行って一瞬隠れていました。まだマリオくんかどうかわからない時、またあの男性が現れました。顔を見たら「本当にマリオくんだ!」と確認でき、「まだ4時半なのにマリオもう来たんだ!」心が止まるほど嬉しかったです。全身ジーンズを着て背が高くて顔がちっちゃくてイケメンすぎて映画と写真より生で見る方がずっとかっこよかったです。マリオくんと写真を撮りたいが、その瞬間に何をしたらいいのかわからないまま、マリオくんが映画館の二回に行くエスカレーターに乗って行ってしまいました。エスカレーターに乗っている間、ちょっと私の方に振り返って私の目と合ってくれました。もう死ぬじゃないかと思うくらいものすごく照れくさい私は笑わずに無表情で二回に行っているマリオくんをずっと見ました。そうすると、マリオくんは二回に行ってもう消えてしました。マリオくんを見てびっくりした友達も「すごいかっこういいね。」と言ってくれました。マリオくんと写真を撮りたいのに、チャンスを逃してとても残念だったが、それだけで十分幸せでした。その時、感動して、私の人生の目的が達成したと言えます。

จริง ๆ พอมาอ่านอีกทีก็ยังมีจุดที่อยากแก้อีกเหมือนกัน รู้สึกว่ามันยังทำให้ดีขึ้นได้อีกแต่คิดไม่ออกละจะแก้ไง

และหลังจากนั้นก็ได้คุณครูช่วยเช็คไวยากรณ์และคำศัพท์ออกมาได้ดังนี้

ฉบับถูกแก้ (ส่วนที่ถูกขีดฆ่าคือเวอร์ชั่นเก่าของตนเอง ส่วนสีแดงคือคุณครูแก้ให้)

「マリオくんカッコイイ!大好き!」4年前にマリオ・マウラーが演じる映画を見て彼のことが好きになりファンになってしまいました。あの時、マリオくんのことに夢中になりすぎて「いつか会えたらいいな」とー度でもいいからこの人生でマリオくんに生で会いたいという気持ちがとても強かったです強くなっていました。マリオくんのことを追いかけるにマリオ・マウラーに関するSNSを全部フォローしました。そうやって毎日いつどこでのようなマリオくんのスケジュールを確認でき、「大学の近くのデパートに来たら絶対に迎えに行く」ファンの情熱があふれてきていました。
 「私の夢を叶えることができるかも」数日後にマリオくんが当日19時にセントラルワールドで舞台挨拶のような映画公開イベントに参加するという情報が目に入りました。今日こそ会えるのだと嬉しく思いつつ、翌日タイ・英翻訳授業の小テストがあることを思い出した思い出しました。私はどんどれだけ他のことをやりたいと思っても勉強することを一番優先するタイプなので、早く家に帰ってテスト勉強せずに19時までマリオくんに会うことを待つなんて許せませんでした。当日の16時に、授業が終わった時、今日もダメかと少し落ち込んで帰ろうと思い、ちょうどセントラルワールドの近くに家がある友達を見ました見かけました。その瞬間に「今日一緒に帰っていい?セントラルワールド行きたいから」と何にも考えずに友達に言いました。「うん、いいよ」と友達は言いました。そうすると、友達と一緒に大学からセントラルワールドまで歩いて行きました。映画公開イベントは19時に始まる予定だがですが、19時までマリオくんを待つことつもりではなく、ちょっとセントラルワールドの映画館に行って映画公開イベントの様子と雰囲気を見に行ってすぐ帰ってテスト勉強をするしようと決めました。タイの昔の人の考え方のように「君の顔を見えないがが見られないが、君の家の屋根を見るが見られるだけましだ」のとおりです。「大丈夫だよ。マリオくんはタイ人だし、今日でもないけどでなくてもいつか会えるチャンスがあるよ」と友達も慰めてくれました。
 16時半ぐらいにセントラルワールドの映画館に到着しました。友達も一緒に来てくれました。セントラルワールドの映画館は二があり、一般の人が入れるのは一だけで二は映画に関係がある人のみでした。イベントは二に開催されそうで、二に上る方法を探すために、他の友達を電話して聞いてみました。その時、会話が終わってその電話を切ろうとすると、私から5メートルくらいの左側にある男性が見えました。頭が真っ白になり、体もフリーズし、「あの人マリオくんじゃないの?」とこの人生で最もびっくりした瞬間、あのその男性は柱の後ろに歩いて行って一瞬隠れてしまいました。まだマリオくんかどうかわからない時確認できませんでしたが、次の瞬間、またあのその男性が現れました。顔を見たら「本当にマリオくんだ!」と確認でき、「まだ4時半なのにマリオもう来たんだ!」心臓が止まるかと思うほど嬉しかったです。全身ジーンズを着てで身を固め、背が高くて顔がちっちゃくてイケメンすぎる彼は映画写真より生で見る方がずっとかっこよかったです。マリオくんと写真を撮りたいとりたが、その瞬間に何をしたらいいのかわからないまま、マリオくんが映画館の二に行くエスカレーターに乗って行ってしまいました。エスカレーターに乗っている間、ちょっと私の方振り返って私の目と合ってくれました。彼の目が合いました。もう死ぬじゃないかと思うくらいものすごく照れくさかった私は笑わずに笑うこともできず無表情で二行っているのぼっていく |消えていくマリオくんをずっと見ました見つめていました。そうすると、マリオくんは二に行ってもう消えてしました。マリオくんを見てびっくりした友達も「すごいかっこういいね。」と言ってくれました。マリオくんと写真を撮りかったのに、チャンスを逃してとても残念だったでしたこれだけで十分幸せでした。その時、感動して、私の人生の目的が達成したされたと言えます。
 今はもうマリオくんのことが好きではないではなくなりましたが、マリオくんに会ったことを思い出したらその時人生の最高の幸せを感じた瞬間だなと、あの日セントラルワールドに行って本当によかったといつも思います。簡単ですが、いっぱい言葉では言い尽くせないほど幸せが感じられます。

โดนแก้เต็มไปหมด ฮืออออ

ลองแยกประเภทที่เราผิดหลัก ๆ ได้ดังนี้

1. สะเพร่าเอง ผิดเพราะไม่เช็คให้ดี เช่น 文体 กับ 時制 ที่ไม่สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง อันนี้ถ้าเช็คให้ดีก็แก้เองได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคันจิคำว่า 階 = ชั้น ที่ไปเขียนเป็น 回 = ครั้ง หมดเลย อันนี้ผิดได้น่าเกลียดมาก มีกี่คำผิดหมด ตอนทำไม่เอะใจเลยหรอ เบลอ ๆ

2. ลืมพวกกริยาที่มีการเปลี่ยนแปลง ก่อนหน้านี้คุณครูสอนให้ใช้พวก くる|いく ไรงี้ก็พยายามนำมาใช้ แต่ดันลืมพวก adjくなる、adjになる อะไรแบบนี้ไป เช่น ตอนนี้ไม่ชอบมาริโอ้แล้วควรใช้ 好きではなくなりました ไม่ใช่ 好きではない เฉย ๆ เพื่อทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงว่าตะก่อนชอบนะ แต่ตอนนี้ไม่ได้ชอบแล้ว 

3. เข้าใจว่าที่ตนเองใช้อยู่มันถูกมาโดยตลอด แต่จริง ๆ มันผิด เช่น เข้าใจว่า ประโยคหน้า ต้องมีเป็นรูปธรรมดา แต่จริง ๆ มันถือเป็นอีกประโยคหนึ่งไปเลย ต้องใช้ 文体 ให้สอดคล้องกับประโยคหลัง


4. พวก こ、そ、あ สับสนไปหมด ผิดหมดเลย จริง ๆ เคยเรียนแล้วแต่ก็ยอมรับว่าลืมไปแล้ว..

5. ใช้ศัพท์ผิด คำศัพท์ยังไม่หลากหลายพอ ยังสื่ออารมณ์ได้ไม่มาพอ โดยเฉพาะคำว่า ดู เราใช้คำว่า 見る ไปหมดเลย แต่จริง ๆ ในบางประโยคใช้ศัพท์อื่นจะสื่อได้มากกว่าเช่น 見かける = เห็น และ 見つめる = จ้องมอง

内省

ตอนแรกที่เริ่มทำจะรู้สึกลำบากในการเลือกเรื่องที่จะมาเขียน ไม่แน่ใจว่าจะเอาเรื่องไรดีให้มันดูมีอะไรเขียนและน่าสนุก คิดนานมาก สุดท้ายก็เลือกเรื่องนี้มาเพราะมันมาจากอินเนอร์ดี ไม่ต้องสร้างเรื่องมาก แค่เขียนออกมาจากอะไรที่เกิดขึ้นจริง ความสนุกเอาไว้ก่อนเดี๋ยวงานจะไม่เสร็จสักที แต่เขียนไปเขียนมารู้สึกสนุกเองนะ คนอ่านจะอ่านแล้วสนุกไปกับเราหรือเปล่าไม่รู้ แต่ชอบที่ได้พล่ามเยอะแยะดี พอได้อ่านงานของเพื่อนคนอื่นแล้วรู้สึกว่าทุกคนเก่งมาก ทั้งการเขียนและเนื้อเรื่อง มีแรงบันดาลใจกันหลากหลายดี เขียนแล้วอ่านสนุกอย่างกับอ่านนิยาย อยากเขียนได้แบบนั้นบ้าง แล้วพอฟีดแบ็คงานของเราจากเพื่อนมาก็อย่างที่คิดไว้ว่าเราควรปรับปรุงตรงไหน เพราะเราก็รู้สึกอยากแก้ตรงนั้นอยู่แล้วเหมือนกัน จริง ๆ ช่วงไคลแม็กซ์น่าจะเขียนได้อินมากกว่านี้แต่ตอนที่เขียนครั้งแรกเขียนแบบกั๊ก ๆ กลัวที่ไม่พอไปแล้วเลยคิดไม่ออกเลยว่าจะแก้ยังไงให้มันดีขึ้นในครั้งที่ 2 เพราะเราพยายามกั๊กคำไว้ตั้งแต่แรกแล้ว ก็แก้ให้มันดูละเอียดขึ้น และพอมาดูที่คุณครูแก้พวกคำผิดไวยากรณ์ผิดให้เราถึงได้รู้ว่า โอโหผิดกระจาย แต่เป็นงานที่ได้ทำแล้วมีความสุขดี