วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

もう最後です!

มาจนถึงตอนนี้ เราจะขอสรุปสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากวิชานี้นะ


คุณครูบอกจุดมุ่งหมายของการทำ タスク เมื่อตอนเรียนคาบสุดท้าย ไว้ว่า「客観的に自分の学びを内省し、解決策を見つけていく」


เราคิดว่าบล็อคก็คือส่วนหนึ่งในกระบวนการนั้นนั่นเอง ถ้าถามว่าเราบรรลุเป้าหมายมั้ยนั่น.. ก็ตอบคำถามตัวเองไม่ได้เหมือนกัน5555


1. ได้เขียนบล็อคและค้นพบว่าเป็นการทบทวนตัวเองอย่างแท้จริง เพราะปกติเป็นคนที่ทำอะไรแล้วจะไม่ได้ทบทวนเลย ทำเสร็จคือเสร็จ ไม่เคยเช็คว่าตัวเองผิดตรงไหนอะไรยังไง อาจจะเป็นเพราะอย่างงี้ทำให้ภาษาเราพัฒนาค่อนข้างช้า เราเน้นพูดๆๆ อย่างเดียว พูดผิดพูดถูกไม่ค่อยสนใจ เพราะตอนพูดถ้าผิดเดี๋ยวก็มีคนแก้ให้ แล้วก็ไม่ค่อยได้จำที่เขาแก้ให้ด้วยนะ เดี๋ยวก็ผิดซ้ำอีก 5555 พอได้มาเรียนวิชานี้ถึงได้รู้ว่า การทบทวนตัวเอง ย้อนมองตัวเองเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ เราจะได้รู้จุดอ่อนของตัวเอง และแก้ไขตัวเองได้ถูกจุดจริง ๆ


2. ได้ทำ タスク ที่ต้องฝึกทักษะหลายด้าน ทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน เป็นวิชาที่การบ้านเยอะจริง ๆ (ฮือออออ) จริง ๆ เป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ เลย ได้ output สิ่งที่เราเคยเรียนรู้มากทั้งหมดที่เคยมี และได้เช็คด้วยว่าสิ่งที่เราเคยเข้าใจมันถูกหรือไม่ ในบางครั้งที่เราไม่รู้จะใช้คำว่าอะไรดีก็ช่วยให้เราตระหนักได้ว่าเรายังไม่รู้ตรงจุดไหนบ้าง ถ้าเป็นคนขยัน ๆ ทำการบ้านจะรู้สึกว่าเรียนวิชานี้อย่างสนุกนานมาก ๆ แน่ ๆ แต่อารมณ์ขยันของเรามักอยู่แค่ช่วงก่อนมิดเทอม55555


3. ได้เรียนทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับ SLA หรือ กระบวนการเรียนรู้ภาษาที่ 2 เรารู้สึกเรียนเรื่องนี้แล้วเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเนื้อหาที่เรียนมาก ๆ เพราะมันสามารถเทียบได้กับประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เคยเจอมาเลย


อย่างเรื่อง input เรารู้เลยว่าเมื่อ 1 ปีก่อนภาษาญี่ปุ่นเราดีกว่าตอนนี้มาก ๆ เพราะตอนนั้นชอบไอดอลญี่ปุ่น เลยเสพสื่อภาษาญี่ปุ่นทุกวันเลย วันละ 2-3 ชั่วโมงขึ้นไป ชอบดูรายการทีวี ดูละครอะไรแบบนี้ ในขณะที่ตอนนี้แทบไม่ได้ดูอะไรเกี่ยวกับญี่ปุ่น เลยรู้สึกว่าตอนนั้นตัวเองใช้ภาษาญี่ปุ่นที่เป็นธรรมชาติกว่าตอนนี้แถมยังมีคลังศัพท์ในหัวเยอะเพราะชอบเลียนแบบคนเขาพูดกันทีวี ตอนนี้เลยอยากย้อนกลับไปดูรายการทีวีญี่ปุ่นรัว ๆ อีก จะได้ input เยอะ ๆ ไอดอลหนูอยู่ไหนกลับมาหน่อย5555


แล้วตอนนั้นเรา input ผ่านรายการทีวีแล้วยังได้ output ตอนไปทำพาร์ทไทม์ด้วย ตอนนั้นเลยได้ฝึกทักษะเข้มข้นและสนุกสนานมาก เพิ่งรู้ว่าได้ฝึกเยอะแบบนี้เป็นเรื่องดีมาก ๆ จากที่ได้ดูแผนผังกระบวนการเรียนรู้ในวิชานี้ ตอนนี้ได้แต่เรียนรู้ในห้องเรียนอย่างเดียวรู้สึกภาษาญี่ปุ่นตัวเองถดถอยมาก ๆ และคิดว่าเราควรจะคอยทบทวนที่เรียนไปซ้ำ ๆ อีกทีจะได้ไม่ลืม


หรือการเรียนรู้แบบ implicit กับ explicit เลยรู้ว่าจริง ๆ ตัวเองชอบการเรียนรู้แบบ implicit มากกว่ามาก ๆ เพราะไม่ชอบอะไรที่ต้องมานั่งท่องในห้องเรียน เลยชอบตอนที่ตัวเองไปอยู่ญี่ปุ่นแล้วได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นมากกว่า รู้สึกตอนนั้นพอได้ใช้จริงแล้วจำได้ดีกว่าการท่องเพราะสำหรับเราพอท่องเดี๋ยวสักพักก็ลืม


เราชอบเรียนแบบ output theory หรือ interaction theory มากเพราะมันทำให้เราตระหนักเองตอนนั้นเลยว่าเรายังไม่รู้ตรงไหน ต้องปรับปรุงตรงไหน แต่ก่อนอื่นต้องระลึกไว้ก่อนว่า เราต้องมี input ที่ดีและเยอะ ๆ ด้วย อันนี้เพิ่งเห็นความสำคัญ


สรุปคือ เห็นความสำคัญของ input และการมอนิเตอร์ตัวเองมากขึ้นมาก ๆ การ output ออกมาอย่างเดียวโดยไม่คอยตรวจสอบตัวเองว่าทำถูกผิดอย่างไรจะทำให้ภาษาเราไม่ได้พัฒนาเลย

หลังจากนี้ก็จะเรียนจบแล้ว (ดีใจมากกก) 5 ปีในมหาวิทยาลัยยาวนานเหลือเกิน ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นเราจะไม่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนอีกแล้ว ต้องเก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปเรื่อย ๆ แทน เราดีใจที่ได้ลงเรียนวิชานี้เพราะเราได้รู้อะไรหลาย ๆ อย่างที่จะทำให้ภาษาเราพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ ภาษาญี่ปุ่นเราอาจจะไม่ได้สมบูรณ์แบบเหมือนเจ้าของภาษา แต่ต่อไปเราอยากให้ตัวเองใช้ภาษาญี่ปุ่นในแบบที่สามารถสื่อสารสิ่งที่เราต้องการจะพูดออกมาได้ทั้งหมด 頑張っていきます!!!!

タスク9:聞き手

ในห้องเรียน เราได้ฝึกเป็น 聞き手 การ あいづち 2 สัปดาห์ ครั้งแรกเป็นตอนที่ฟังเพื่อนเล่า 目に浮かぶ描写 และครั้งที่ 2 คือการฝึก あいづち โดยตรงเลย


เราได้จับคู่กับเจ้าส้มทั้ง 2 ครั้ง


ในครั้งแรก เรากลัวว่า あいづち ของเราจะไปรบกวนเพื่อน เลยคิดว่าพูดน้อย ๆ ไว้ดีกว่า ผลออกมาเป็นดังนี้


1. เราพูด あいづち ไป 7 ครั้ง ในเวลา 3 นาที 2 วินาที (เฉลี่ย 0.038 คำต่อนาที)

2. ในด้านความหลากหลายนั้น เราพูดแค่ うん ไป 4 ครั้ง ส่วนอีก 3 ครั้งคือการถามกลับคนเล่าเพื่อเช็คความเข้าใจของตัวเอง ได้แก่ 1) 新聞の中隠れている?2) それだけ? 3) なんでかな?

3. ระดับภาษาไม่มีการเปลี่ยนแปลง คงเป็นเพราะว่าเพื่อนก็พูดรูปธรรมดากับเราเหมือนกัน


จากนั้นเราก็ได้ฟังรายการวิทยุชื่อ 安住紳一郎の日曜天国 ทางช่อง TBS ซึ่งในรายการจะมีผู้ดำเนินรายการ 2 คน คนหนึ่งเป็นคนเล่าเรื่อง ส่วนอีกคนเป็นคนคอย あいづち ตามจังหวะให้การดำเนินรายการสนุกมากยิ่งขึ้น


เราก็สังเกตการใช้ あいづち และจังหวะการตอบโต้ของคนที่ 2 ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ดังที่ได้สรุปไปแล้วในนี้


หลังจากนั้นเราก็ได้ฟังเพื่อนเล่าเรื่องอีกครั้งในห้องเรียน


ส่วนครั้งที่ 2 เราพยายามพูด あいづち เยอะ ๆ และหลากหลายตามที่ได้ยินในรายการวิทยุ และพยายามหาจังหวะพูดให้ดีขึ้น อย่างตอนที่เพื่อนเกริ่นประโยคใหม่ขึ้นมา หรือตอนที่เพื่อนจบประโยค และผลจึงออกมาเป็นดังนี้


1. เราพูด あいづち 41 ครั้งในเวลา 2 นาที 45 วินาที (เฉลี่ย 0.248 คำต่อนาที)


2. ในด้านความหลากหลาย เราพูด うん ไปทั้งหมด 21 ครั้ง นอกนั้นเป็นคำที่แตกต่างกัน เช่น  そうですか、あーなるほど、うんわかった、へー優しい เป็นต้น


3. มีการเปลี่ยนระดับภาษาในตอนเริ่มนั่นคือ พูดคำว่า そうですか ในครั้งแรกซึ่งเป็นระดับที่สุภาพ จากนั้นถึงเป็นภาษาระดับธรรมดาทั้งหมด


จะเห็นความแตกต่างระหว่างครั้งแรกกับครั้งที่ 2 อย่างชัดเจนเลย ได้แก่

สรุปความแตกต่างระหว่างครั้งแรกและครั้งที่ 2


1. เฉลี่ยแล้วจำนวนครั้ง ครั้งที่ 2 ใช้ あいづち เยอะกว่าครั้งที่ 1 552% หรือมากกว่า 6.5 เท่า


2. ความหลากหลาย ครั้งแรกเราพูดแค่ うん และถามข้อสงสัยที่ไม่แน่ใจ แต่ครั้งที่ 2 นอกจากคำว่า うん แล้ว เราก็มีการถามข้อสงสัยที่ไม่แน่ใจ และแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เพื่อนกำลังเล่าด้วย เช่น 優しい หรือ ね ตามคำพูดของเพื่อน


3. ครั้งแรกไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับภาษา แต่ครั้งที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลงระดับภาษาในตอนเริ่ม


ส่วนจังหวะในการพูดคิดว่าดีขึ้น เพราะครั้งแรกมีการพูด うん แทรกในกลางประโยคบ้าง แต่ครั้งที่ 2 พยายามพูดหลังเพื่อนจบประโยคหรือกำลังเกริ่นอะไรสักอย่างอยู่


内省

เห็นได้ชัดเลยว่าหลังจากเรียนเรื่อง あいづち เรามีการเปลี่ยนแปลงด้านการใช้ あいづち แม้ตอนประมาณปี 2-3 ก็มีเรียนเรื่อง あいづち มาแล้ว แต่บางครั้งก็ลืมเรื่องความหลากหลายไป ตอนแรกก็ตอบ うん ไปอย่างเดียว เพราะกลัวจะไปรบกวนเพื่อนกำลังเล่าเรื่อง แต่พอได้เรียน ได้ลองฟังวิทยุแล้วถึงรู้ว่า ถ้าเราใส่ あいづち ให้เยอะ ๆ และหลากหลายมากขึ้น ทำน้ำเสียงให้ตื่นเต้นกับเรื่องที่เพื่อนเล่าด้วย จะทำให้ทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งผู้พูดและผู้ฟังสนุกมากยิ่งขึ้น เราก็ได้โฟกัสกับเรื่องมากขึ้นด้วย เพราะต้องโฟกัสว่าจะคอมเม้นท์กลับว่าไรดี 5555 การเรียน あいづち ทำให้เราเห็นพัฒนาการตัวเองชัดเจนดี