กิจกรรมที่ทำคราวนี้เริ่มยากขึ้นมาแล้ว
คือ การพรรณา หรือ 描写 เราเคยเรียนมาแล้วในวิชาคอนเวอร์
ตอนนั้นก็รู้สึกว่ายาก ตอนนี้ก็ยังรู้สึกว่ายากอยู่ดี
ในห้องเราต้องบรรยาการ์ตูนช่อง
ๆ 4 ช่อง มีการ์ตูนอยู่ 2 แบบ ให้จับคู่กับเพื่อนในห้องแล้วผลัดกันพรรณา
แบบแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
คนญี่ปุ่น 2 คนที่นั่ง ๆ อยู่ คนนึงนั่งอ่านหนังสือพิมพ์
แล้วเห็นชาวต่างชาติเดินมา ท่าทางจะเข้ามาถามทาง
คนที่ไม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์เลยรีบหลบเข้าไปหลังหนังสือพิมพ์เพื่อที่จะได้ไม่ต้องคุยกับคนต่างชาติ
แบบแรก
แบบที่ 2
เป็นเรื่องของเด็กวัยหัดคลานกับหมา เด็กเห็นหมาหลับอยู่อยากขี่หมา เลยคลานไปหาหมา
แต่หมาดันรู้ตัวตื่นซะก่อน เลยจะคลานไปอีกทางเพื่อเข้าข้างหลังไม่ให้หมารู้ตัว
แต่หมาก็หันหน้ามาอยู่ดี กลายเป็นว่าเด็กคลานยังไงก็เจอหน้าหมา
แบบที่ 2
เราได้แบบที่ 2
ซึ่งตอนแรกดูรูปก็ไม่เข้าใจ ได้เพื่อน ๆ คนอื่นช่วยอธิบายให้ฟังเลยเข้าใจแบบงง ๆ
และถอดเสียงตอนเล่าออกมาได้ดังนี้
赤ちゃん一人と犬がー匹がいます。で、あのう、犬が寝てます。そして、赤ちゃんはあのう、犬のお腹、お、お腹じゃなくて背中?犬の背中に乗りたいと思って、あのう、犬に近づいてた。そして、犬が、赤ちゃんが犬の背中に乗りたいと思って犬のところにあのう、近づいていた。で、あのう、犬は目が開けました。(目が覚める?)目が覚めました。そうそうそう。そして、赤ちゃんちょっとびっくりしちゃってもう乗れないかなと思ってそして、犬の、あのう、乗れないと思うのは犬と前から、、犬と前から、あのう、近づくなら背中に乗れないですよね。なので、なので、後ろに近づけたい、、と思って、なので、犬の前から回して、そしてもう一回近づけると、もうー回犬の前に着いた。それは、赤ちゃんは犬の後ろに、あのう、後ろの方に入りたいのに入れなかった。(何で?)というのは、あのう、赤ちゃんはなんか丸みたいな回るので、あのう、前から回ってももうー回前に戻ったという(何で?)何でかな?なんか丸じゃなくて丸の半分ぐらい行くなら犬の後ろに、あのう、着いたけど、あのう、着けるけど、あのう、犬の後ろに止まらなくて、まだ、あのう、続くので、もう一回犬の前に着いたという。(難しい)難しいね。赤ちゃんは犬の背中に乗りたいと思って、犬に近づいたね。そして、犬に着いたのは犬の前、犬の顔会った、ですよね。こういう形
(ทำท่าประกอบ) あのう、なので、背中乗れないちゃん。前から。乗れないので、あのう、もう一回犬の背中に行きたい。赤ちゃんは一回回して顔に会った。もう一回会った。背中じゃなくて。終わり。
(ในวงเล็บคือบางส่วนที่เพื่อนโต้ตอบกับเรา)
ครั้งแรกใช้เวลานานมาก
ประมาณเกือบ 5 นาทีได้ เพราะคิดศัพท์ไม่ออก เช่นคำว่า คลานไปหา หรือเจอหน้าหมา เดินอ้อม
เป็นต้น อธิบายให้เพื่อนเข้าใจไม่ได้สักที ใช้มือไม้เต็มที่ก็แล้ว เอาจริง ๆ
ยังไม่ค่อยเข้าใจเนื้อเรื่องของการ์ตูนเลยว่าต้องการจะสื่ออะไร
เรื่องนี้ให้พูดเป็นภาษาไทยยังไม่ได้5555
ก็เลยคิดว่าครั้งแรกมีปัญหาที่การเข้าใจเนื้อเรื่องกับคลังศัพท์ พูดจาสับสนวกวนไปหมด
หลังจากนั้นครูก็ให้อ่านตัวอย่างที่คนญี่ปุ่นเล่าเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องนั้น
ๆ ด้วย ทำให้ได้ศัพท์และสำนวนเพิ่มขึ้นมา พอเล่าเป็นครั้งที่ 2
ก็ใช้เวลาลดน้อยลงกว่าครึ่ง เหลือแค่เกือบ 2 นาที (จริง ๆ
น่าจะเป็นเพราะเพื่อนที่ฟังเราก็รู้เรื่องเนื้อเรื่องทั้งหมดแล้วด้วย เล่าผิด ๆ
ถูก ๆ ไปเพื่อนก็เกต)
หลังจากนั้นก็ได้ลองเล่าเรื่องที่ยังไม่ได้เล่าบ้าง
โดยที่ได้เรียนรู้คำศัพท์มาแล้ว รู้สึกตัวเองเล่าได้สบายกว่าเรื่องเด็กคลาน แถมยังเข้าใจเนื้อเรื่องอีกด้วย
ดีใจ
ある建物のロビーのソファーに、あのう、男性二人が座っている。一人の男性は新聞を読んでいる。そうすると、あのう、外国人があそこに近づいてる。その外国人が地図を持っているので、その座ってる二人に道を聞いたいと思う。で、あのう、あのう、ソファーに座っている一人はその外国人の目と、目が会って、やばいと思って、あのう、英語には自信がないので、英語を話したくないので、あのう、隣に座っている新聞を読んでいる人の新聞の後ろに隠れてる。外国人を見えない。見られないようにしている。なので、結局外国人が道を聞けなかった。
(จริง ๆ ต้องเป็นการถอดเสียงเปรียบเทียบระหว่างครั้งแรกและครั้งที่ 2 ของเรื่องเดียวกันแต่เราเข้าใจผิด อัดเสียงมาเป็นอีกเรื่องแทน)
ความรู้สึกที่อ่านแล้วเปรียบเทียบของคนญี่ปุ่นกับสิ่งที่ตัวเองและเพื่อนพูด
เราคิดว่าเรายังเล่าได้แบบไม่มี オチ อะ
ไม่เข้าใจว่าเราต้องตบมุกจบยังไง ขนาดตอนฟังของเพื่อนแล้วเพื่อนเล่าจบยังรู้สึกงง
ๆ ว่า เอ่า จบแล้วหรอ แล้วมันยังไงอะ เขาเข้าไปแอบหลังหนังสือพิมพ์แล้วไงต่อ
เหมือนเรื่องจะมีต่อยังไงอย่างงั้น ยิ่งของเรายิ่งแล้วใหญ่
ไม่เข้าใจจุดประสงค์ของเนื้อเรื่องทั้งหมดเลยด้วยซ้ำ คนเล่าอย่างเรายังไม่เข้าใจเรื่องเลย5555
สิ่งที่แตกต่างอย่างเห็นชัดอีกอย่างคือ
เราไม่ได้ใส่อารมณ์ความรู้สึกในการพรรณาเลย เช่น オノマトペ
ที่จะทำให้เนื้อเรื่องมีสีสันมากขึ้น,
หรือการใส่ความคิดเห็นของตนเอง เป็นต้น แต่ก็ยังมีคำแสดงอารมณ์แบบ 〜てしまうอยู่บ้าง
内省
พอได้กิจกรรมนี้แล้ว รู้สึกเกลียดตัวเองไปเลย
คิดว่าเรามีความสามารถในการเล่าเรื่องแย่มาก ๆ ตอนพูดไม่เท่าไหร่ รู้สึกเฉย ๆ
พอได้มาฟังซ้ำที่ตัวเองอัดอีกรอบก็เข้าใจเลยว่าทำไมเพื่อนถึงไม่เข้าใจเรา
ขนาดเรายังไม่เข้าใจสิ่งที่เรากำลังจะพูดเลย
มีปัญหาด้านการเล่าเรื่องตามลำดับมานานแล้ว ชอบเล่า ๆ ในแบบที่เข้าใจเอง
แต่คนฟังไม่เข้าใจอะ คิดว่านอกจากคำศัพท์ที่ต้องปรับปรุงแล้ว
ยังต้องปรับปรุงตัวเองให้มีสติลำดับเรื่องราวในหัวมากกว่านี้ให้เล่าเรื่องให้คนฟังได้รู้เรื่องมากกว่านี้อีกจะดีมาก
ยังติดคำว่า あのう กับ そして อีกมาก ๆ หลุดปากพูดออกมาตลอดเวลาเลย
โดยเฉพาะคำว่า で、あのう ในตอนที่นึกอะไรไม่ออก
ดังนั้นคิดว่า
หากเราจะปรับปรุงการเล่าเรื่องให้ดีขึ้นต่อไปต้องปรับปรุงสิ่งต่อไปนี้
1. สะสมคลังศัพท์ไว้เยอะ ๆ
โดยเฉพาะ オノマトペ ช่วยเพิ่มอรรถรสให้เรื่องเล่า
2. ระมัดระวังเรื่องไวยากรณ์ให้มากขึ้น
3. อาจจะใส่ความรู้สึกของเรื่อง
ความคิดหรือคำพูดของตัวละครในเรื่องไปด้วย ทำให้เรื่องมีสีสันมากขึ้น
4. จัดลำดับเนื้อเรื่องให้ดี
ให้คิดจากมุมมองจากคนฟัง
ไม่ใช่มองจากมุมมองเรื่องราวในหัวเราที่เราเข้าใจดีอยู่แล้ว
5. พูดคำว่า あのう หรือ そして ให้น้อยลง
6. ถ้าใส่ オチ ตอนจบของเรื่องไว้ด้วย
จะทำให้คนฟังสนุกมากขึ้น