วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

タスク1(3):自己紹介 My New Me

และแล้วเราก็กลับมาอีกครั้งกับการแนะนำตัว อัวอัวอัว ครูบอกว่ามีบีฟอร์ก็ต้องมีอาฟเตอร์นาจา


เราทำเรื่องนี้มาเป็นครั้งที่ 3 แล้ว แน่นอนว่าต้องมีการพัฒนาที่ดีขึ้น!!!


ใช่มั้ย..55555


ทีนี้เรามาดูกัน หลังจากที่ลองพูดสดในครั้งแรก ซึ่งได้บันทึกไว้ในครั้งนี้ และได้เขียนแบบให้มี 魅力的 ออกมา ซึ่งเราก็ได้สรุปไว้ในครั้งนี้


และเราก็ได้มาพูดกันอีกรอบในห้องเรียนนี้ อีกครั้ง-..-


แน็ตก็ได้แต่หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะมีการพัฒนาขึ้น ก็ลองดูบทที่เคยส่งครูเล็กน้อย และก็พูดไปตามที่จำได้


และนี่คือเทปที่ถอดเสียงออกมา


皆さん、こんにちは。初めまして。あのうサンスィニーと申します。ニックネームはネットです。よかったらネットと呼んでください。はい、あのう、そしてー、ストレス解消に行うことは、あのう、ドラマ鑑賞と映画鑑賞です。ドラマは日本ドラマが好きで映画はアメリカ映画が好きです。最近見たのは、あのう、日本ドラマの「嘘の戦争」と、あのうハリウッド映画のラ・ラ・ランドです。はい、あのう、そして、また、日本アイドルを追いかけることも楽しんでいます。しかし、2年間夢中になっていたアイドルが解散してしまったので結構冷めてしまいました。よかったら皆さん、あのう、皆さんのお好きなアイドルをご紹介お願いします。どうぞよろしくお願いします。


เมื่อเทียบกับการพูดสดครั้งแรกปรากฎว่า พวก あのう กับ そして ก็ยังหลุดปากมาอยู่ตอนที่นึกไม่ออกว่าจะพูดไรต่อ ตรงนี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้ภายใน 3 สัปดาห์ แต่รู้สึกตัวเองพูดได้น่าสนใจมากขึ้น น่าสนใจในที่นี้คือมีความเป็นตัวตนของเรามากขึ้น ได้พูดว่าชอบตามไอดอล แต่ไอดอลก็วงแตกไปแล้ว5555 มีการใส่ตัวอย่างไปด้วยในส่วนที่ขีดเส้นใต้ อันนี้คือพูดขึ้นมาใหม่ไม่ได้อยู่ในบทที่เคยส่งครูไป


แต่ที่ดีใจมากก็คือ พูดครั้งนี้ไม่ค่อยตื่นเต้นเท่าครั้งแรกแล้วแล้ว555555 ได้มองสบตาเพื่อน ๆ แทนการมองมือถือตัวเองที่อัดเสียงอยู่ สงสัยเรียนด้วยกันมา 2-3 สัปดาห์เลยเริ่มคุ้นเคยกับเพื่อน ๆ และเลิกประหม่าลงไป พอเลิกประหม่าแล้วก็พูดได้ลื่นกว่าเดิมไม่ตะกุกตะกักแล้ว อันนี้ปลื้มมากน้ำตาจะไหล แต่ถ้าไปเจอคนใหม่ ๆ ที่ไม่รู้จักเดี๋ยวก็ประหม่าอีก ไม่รู้จะทำยังไงแล้ว 😩😩😩


สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมพูดแนะนำตัวเองคือ การพูดแนะนำตัวที่เราคิดว่าเป็นเรื่องง่ายที่สุดนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยถ้าเราอยากทำให้การพูดของเราให้ความประทับใจแก่ผู้ฟัง ให้ผู้ฟังจดจำตัวตนของเราได้ ต้องมีเทคนิคในการทำให้คนจำชื่อได้ และการพูดแนะนำตัวบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ รวมทั้งได้เขียนไปด้วยทำให้เราได้จัดลำดับความคิดว่าจะพูดอะไรบ้าง และได้ดูปฎิกิริยาตอบสนองของเพื่อนด้วยว่า พูดเรื่องอะไรเกี่ยวกับตัวเราแล้วทำให้เขาสนใจ ถ้าพูดแบบนี้แล้วจะได้รีแอคชั่นตอบกลับมาอย่างไร อย่างเช่นครั้งแรกที่เคยบอกเพื่อน ๆ ว่าชอบดูละครดูหนัง เพื่อนก็ฟังแล้วเฉย ๆ แต่พอครั้งนี้บอกไปด้วยว่า เรื่องล่าสุดที่ดูไปคือเรื่องอะไรบ้าง เพื่อนก็มีปฏิกิริยาตอบกลับมาว่า “อ่อ (ดารา)คนนี้เล่นใช่มั้ย”  “อ๋อ เรื่องนี้รู้จักๆๆ” เป็นต้น พอเพื่อนได้ตอบสนองเรามาแบบนี้ก็คิดว่าทำให้เพื่อนจดจำเราได้มากขึ้น และสุดท้ายอย่าลืมตั้งใจฟังที่คนอื่นพูดด้วยเพราะเพื่อนก็ตั้งใจพูดเหมือนกันอีกทั้งจะได้รู้จักเพื่อน ๆ มากขึ้นด้วย


สรุปแล้วคิดว่า การพูดบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ ช่วยให้พัฒนาขึ้นได้จริง